สจว 110 ได้รับมอบหมายให้ทำวิจัย เกี่ยวกับสังขละบุรีโมเดล ว่าด้วยเรื่อง รูปแบบความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า เพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน ศึกษากรณี :ประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ
การพัฒนาข้ามแดน (CBD: Cross Border Development) กำลังเป็นปัจจัยเร่งด่วนที่นานาประเทศ เร่งที่จะดำเนินการให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อแชร์ทรัพยากร แชร์ข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการค้าขาย การอยู่ร่วมกันโดยได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
โดยเฉพาะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งจะเปลี่ยนมหาอำนาจโลกมาทางด้านเอซีย คือ จีนและอินเดีย การรวมตัวของประชาคมอาเซียน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ละประเทศจะต้องมีแผนเชิงรุกเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง ขณะเดียวกันแผนตั้งรับอันเกิดจากข้อเสียในการไหลอย่างไม่เป็นระบบก็จำเป็นต้องทำอย่างรีบด่วน งานวิจัยของสจว 110 ก็เป็นงานวิชาการที่จะต้องตอบโจทย์ของชาติให้ได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดน ไทย-พม่า ให้เกิดเป็นแผนเชิงรุกและรับ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยได้รับความร่วมมือกันและสานประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ
จากทฤษฎี Frey, B.B., Lohmeier, J.H., Lee, S.W., & Tollefson, N. (2006). Measuring collaboration among grant partners. American Journal of Evaluation, 27, 3, 383-392.)
The five stages are described as:
level | knowlage | |
ต่ำ | 1. Networking-Aware of organization การสร้างเครือข่าย -Loosely defined roles -Little communication -All decisions are made independently | การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สาธารณสุข |
2. Cooperation-Provide information to each other การประสานงาน -Somewhat defined roles -Formal communication -All decisions are made independently | การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สาธารณสุข การข้ามแดน | |
3. Coordination-Share information and resources การร่วมมือ -Defined roles -Frequent communication -Some shared decision making | การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สาธารณสุข การข้ามแดน | |
4. Coalition -Share ideas แลกเปลี่ยนความคิดเห็น -Share resources -Frequent and prioritized communication -All members have a vote in decision making | การศึกษา วัฒนธรรม เศรษฐกิจ สาธารณสุข การข้ามแดน | |
สูง | 5. Collaboration-Members belong to one system การทำงานร่วมกัน -Frequent communication is characterized by mutual trust -Consensus is reached on all decisions | ร่วมทำข้อกำหนดร่วมกัน ในทุกด้าน บนฐานของการใช้ประโยชน์ร่วมกัน |
ถ้าเราลองศึกษาระดับความร่วมมือ จะเห็นว่าในการพัฒนาความร่วมมือ จะต้องมีการวางแผนเป็นลำดับขั้น ก่อนที่จะได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังทั้งสองฝ่าย เริ่มจากการสร้างเครือข่ายธรรมชาติ สร้างองค์ความรู้ที่ต้องการให้เครือข่ายได้รับ เช่นองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้นจากเครือข่าย จะเป็นรูปแบบของการประสานงาน จะเริ่มมีหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นหลักให้ โดยเริ่มมีข้อตกลงระหว่างเครือข่าย พัฒนาเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐในบริเวณชายแดน จนถึง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อกำหนดข้อตกลงระดับชาติ พัฒนาสู่การทำงานร่วมกัน บนฐานการใช้ประโยน์ร่วมกัน สู่การเปิดประตูชายแดนในที่สุด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แวะเยี่ยมติชมทักทายกันบ้าง