คิดถึงพี่ไว คนดี

ป้ายกำกับ:

53 ไว คงทวี
จิตมนุษย์สุดยากแท้หยั่งถึง      อย่าคำนึงเลยพี่ณีที่จิตคน
ทำเต็มที่แล้วเราเลยขอบ่น      เลือดมันข้นใจมันขุ่นฉุนเปล่าเปล่า
จิตเราเรารู้อยู่ที่ไหน               จิตของใครใครก็รู้อยู่ที่เขา
จิตไม่อยู่ไม่รู้จักเจ้ากับเรา        จิตคงเข้าคงออกนอกลู่ทาง
เรามาพบกันวันนี้ดีนักหนา      เราไม่น่านัดกันเลยมันจืดจาง
เราว่างนายไม่ว่างไม่สับราง    เราจะห่างจะเหินและเดินจากไป
วันนี้ (12มิถุนายน 2555)  เปิดเฟชบุ๊ค เจอร้อยกรอง พี่ไว คงทวี แล้วใจหาย โดยเฉพาะท่อนี้        
"เราจะห่างจะเหินและเดินจากไป " สะท้อนความรู้สึกรักและผูกพัน เพื่อนๆ สจว 110 พี่ไว ตอนเรียนรับผิดชอบเป็นเหรัญญิกของรุ่น  แม้ตอนจบแล้วก็ได้ข่าวว่า ยังทำหน้าที่ต่อไป โดยส่วนตัวพี่ไวชอบแต่งบทกลอน ตอนเลี้ยงรุ่นวันจบ แต่งกลอนให้พวกเราครบทุกคน
การรวมกลุ่ม นั้นทำได้หลายรูปแบบ แต่สิ่งสำคัญคือเมื่อรวมกลุ่มแล้วได้อะไร ได้เงิน ได้ความรัก ได้ความสนุกสนาน ได้อะไรอีกหลายหลายอย่างแล้วแต่มุมมองของแต่ละคน จะเลือกสิ่งใด ขณะเดียวกันกลุ่มก็ต้องแสดงเจตนาของกลุ่มชัดเจนว่าเรารวมกลุ่มเพื่อสิ่งใด  กลุ่มนั้นทรงพลังยึดเหนี่ยวกันด้วยประโยชน์ของกลุ่ม และสมาชิกกลุ่ม 
สำหรับสจว 110 เรารวมกลุ่มด้วยความรักความผูกพัน เหมือนพี่น้อง ดังนั้นเราต้องมีความรัก ความจริงใจ มาร้อย มาผูกพันกันให้ได้ เวลาที่ผ่านมา สจว110 ไม่ได้เรียน หรือเข้ามาเรียน เพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่เรามาอยู่ร่วมกันเพื่อทำงาน เพื่อเป็นต้นแบบความคิดดีดี ส่งผ่านกลับสู่องค์กรของเพื่อนๆแต่ละท่าน  ผู้เขียนเห็นว่างานที่พวกเราได้รับมอบหมาย ในตอนเรียนนั้นเป็นเรื่องง่ายๆทั้งนั้น แต่เมือ่มาปฏิบัติด้วยความคิดหลากกลาย ทำให้เป็นเรื่องยาก  สิ่งสำคัญสุดคือความรัก ความผูกพัน ความเคารพ  การให้เกียตริซึ่งกันและกัน การทำใจให้ยอมรับความคิดของผู้อื่น ทำให้เราได้โลกกว้างอีกรูปแบบหนึ่งมา และสุดท้ายคือความเมตตา การให้อภัยซึ่งกันและกัน
back3
ผู้เขียนตั้งใจจะปิด เวบบล็อกสจว 110 ด้วยเห็นว่าไม่ได้ update ข้อมูล แต่มาเจอเรื่องราวความดีของพี่ไว ความมีน้ำใจต่อเพื่อนฝูง เตรียมอาหารสุรา ปลาปิ้งไว้ต้อนรับเพื่อนทุกคน แต่เพื่อนติดงานมาน้อย หรือ การสื่อสารใดก็ตามทำให้ไม่ได้รับการตอบรับจากเพื่อนสจว 110  ผู้เขียนขอเป็นตัวแทนรุ่นทุกคน กล่าวคำขอบคุณและขอโทษพี่ไว และขอให้พี่ไวตั้งใจทำสิ่งดีดีเพื่อสจว110 ต่อไป

รำลึกถึง..วันเข้าค่ายลูกเสือ พี่น้องสจว 110

ป้ายกำกับ:

วันนี้(17 พ.ค 2555) ทราบข่าวเพื่อน สจว110          รวมตัวจะไปดูแลน้อง สจว 111 ที่ค่ายลูกเสือเพชรัตน์ ซึ่งครั้งนั้นเราเคยสนุกสนาน ตื่นเต้นกับการเข้าค่ายลูกเสือมาแล้ว การฝึกชีวิตกลางแจ้ง การฝึกทำอาหารด้วยตนเอง การเล่นรอบกองไฟ รุ่นพี่ 109 มาร่วมต้อนรับดูแลน้องน้อง สจว  ผู้เขียนจำได้ว่า ได้บันทึกวันแห่งความทรงจำนั้นไว้ ขอบคุณสำหรับเพื่อนๆทุกคนที่จะไปดูแลน้องสจว 111ที่ค่ายเพชรรัตน์ สระบุรี ในวันนี้

คิดถึง.........วันเข้าค่ายลูกเสือ





วันแรก.......ของการฝึกลูกเสือ

วันที่ 5

 

วันที่สอง.......ของการฝึกลูกเสือ
วันที่ 6


วันที่สาม.......ของการฝึกลูกเสือ
วันที่ 7

 

วันสุดท้าย.......ของการฝึกลูกเสือ

วันที่ 8

วันเกิดของนักศึกษา สจว 110

ป้ายกำกับ:

405222_154992167950312_100003185903278_214550_1763926099_n

เป็นประเพณี ของนักศึกษาสจว 110 เมื่อถึงวันเกิดของเพื่อนคนใดในชั้นเรียน เพื่อนๆจะจัดเตรียมของขวัญไว้ให้ ในท้ายชั่วโมงเรียน จะมีเพื่อน หนึ่งคนเป็นพิธีกร โดยมีคณาจารย์และท่านผู้อำนวยการสถาบันนั่งเป็นเกียตริบริเวณหน้าเวที เพื่อนซึ่งเป็นพิธีกร จะกล่าวนำและบอกให้เพื่อนทั้งห้องทราบว่าวันนี้เป็นวันเกิดของใคร และเชิญเพื่อนเจ้าของวันเกิดออกมาด้านหน้า เชิญผู้อำนวยการสถาบันมอบของขวัญจากสถาบัน เพื่อนเพื่อนยึนขึ้นร่วมกันร้องเพลงวันเกิด ให้สุขสันต์วันเกิดวันนี้ เป็นเพลงประจำของสจว จากนั้นเชิญเพื่อนซึ่งอาวุโสกว่า กล่าวคำอวยพร และมอบของขวัญของรุ่น และให้เพื่อนกล่าวความรู้สึก เพื่อนที่เกิดวันนั้นส่วนใหญ่ทราบซึ้ง มักจะกล่าวว่า ไม่เคยมีวันเกิดซึ่งได้รับคำอวยพรและแสดงความยินดี จากเพื่อนหลายหลายคนแบบนี้มาก่อนเลยในชีวิต เป็นประเพณีที่น่าจดจำ สร้างความจดจำให้กับนักศึกษาได้เป็นอย่างดี



สำหรับวันนี้ (11พ.ค ) เมื่อเรียนจบแล้ว ทราบข่าวว่าเป็นวันคล้ายเกิดพีแก๋ง นาวาอากาศเอกเพ็ญนภา เทพหัสดิน คงไม่มีการอวยพรหน้าห้อง แต่ยังมีห้องของสจว 110 ให้อวยพรได้จากหน้านี้ พี่แก๋งเป็นพี่ที่แสนดีของน้องและเพื่อนทุกคน ตัวเล็ก แต่ทุกงานที่มีการทำงานพี่แก๋งไม่เคยพลาด ให้ความร่วมมือต่อส่วนรวมด้วยดีตลอดมา ทุกงานที่พี่แก็งทำบอกได้ว่ามืออาชีพ เรียบร้อย
   
ขอให้พี่แก๋งมีความสุขมากมาก สุขภาพร่างกายแข็งแรง ประสพความสำเร็จในอาชีพการงาน และเป็นที่รักของน้องและเพื่อนๆทุกคนคะ

สิ่งดีดียากที่จะลืมเลือน

อำลาอาลัย สจว 110

ป้ายกำกับ:

สังขละ2
วันที่ 26 เมษายน 2555  วันสุดท้ายสำหรับการศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ เพื่อนข้าราชการแต่งชุดขาวสวยงามทุกคน วันนี้เรามีพิธีปัจฉิมนิเทศ และรับประกาศนียบัตร ทุกคนดีใจ ในขณะเดียวกันก็ใจหาย ที่พวกเราต้องจากกันแยกย้ายกันไปสู่หน้าที่หลักของแต่ละท่าน รู้สึกเสียดายบรรยากาศเก่าที่นั่งเรียนหนังสือร่วมกันทุกเช้า
สังขละ5
ท่านผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง พลตรีปานศิริ มีผล กล่าวให้โอวาท พร้อมทั้งชื่นชมในความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของเพื่อนๆสจว 110 ทุกท่าน ที่มีความรักสามัคคี ฟันฝ่าอุปสรรค ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ นอกจากนั้นได้มอบภาระหน้าที่ให้กับพวกเราในการช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และช่วยกันปฏิบัติการจิตวิทยาเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับหน่วยงานที่เราเกี่ยวข้อง จากนั้นรับประกาศนียบัตร
4 เดือนที่ร่ำเรียนกันมา ทั้งลูกศิษย์ทั้งอาจาร์ย มีหลายความรู้สึก ความไม่ชอบ ความชอบ ความคิดเห็นต่าง ความหลากหลายในวิธีคิดอันติดกายามาแต่กำเนิด ได้เห็นได้รู้ ในวิธีการต่างๆ เรียกว่ามีทุกรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม  แต่แล้วเหนือสิ่งอื่นใด ความรัก ความสามัคคี ก็นำพาสู่ความให้อภัย ซึ่งกันและกัน พลังเมตตา เหนือกว่าสิ่งใดในหล้า สจว 110 จึงประสพในทุกเรื่อง
สังขละ6
วันนี้ขอคาระวะ น้อมความเคารพ สู่อาจาร์ยทุกท่าน ที่ให้การดูแลพวกเราอย่างสม่ำเสมอ อดทน อดกลั้นรับอารมณ์ พวกเราได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแม้บางท่านมิได้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยตรง แต่ก็เป็นอาจาร์ยผู้ชี้แนะการแก้ปัญหา การดูแลใจของพวกเราให้มั่นคง เรียกสติของพวกเรา
ผอ
โดยเฉพาะท่านผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง ท่านพลตรีปานศิริ มีผล อาจาร์ญใหญ่ของ สจว110 ผู้มีความคิดเฉียบแหลมในทุกเรื่อง สามารถนำพาพวกเราเข้าสู่ความสำเร็จได้อย่างยิ่งใหญ่  ท่านเป็นผู้นำที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และรบได้ชนะด้วยสติปัญญา ความนิ่ง การวางแผน ความเมตตาของท่านทำให้สจว 110 สำเร็จในทุกเรื่อง
สำหรับสถาบันจิตวิทยาแห่งนี้ สำหรับผู้เขียนแล้วมันคือการฝึกความอดทนของจิตใจ การฟันฝ่าอุปสรรคด้วยเป้าหมายร่วมกัน การให้อภัย การทนผู้อื่นกล่าววิพากษ์ด้วยใจสงบ การต่อสู้ที่จะต้องนำเสนอความคิดเห็นให้ผู้อื่นยอมรับ การเสียสละและมุ่งมั่น จนถึงฝึกความนิ่ง ไม่ว่าจะทุกข์หรือสุขอย่างไร  การฝึกคนของสถาบันแห่งนี้ เสมือนการฝึกรบให้ชนะจิตใจตนเองก่อน จึงจะชนะจิตใจผู้อื่น

งานวิจัย สจว 110

ป้ายกำกับ:



รูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ(สังขละบุรีโมเดล)
ขั้นตอนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย กพ55 มี.ค55 เมษ55
ขั้นตอนที่ 1. ระยะก่อนทำวิจัย (Pre-Research Phase)เป็นขั้นตอนการเตรียม  ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย
1.1 การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
1.2 การสำรวจและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เพื่อค้นหาปัญหา
1.3 การคัดเลือกชุมชน ที่ต้องการสำรวจและกำหนดปัญหาที่ต้องแก้ไข
1.4 การเข้าสู่ชุมชน เริ่มดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ด้วยการเตรียมรณรงค์ปฏิบัติการจิตวิทยาในเบื้องต้น
1.5 การเตรียมคนและเตรียมเครือข่ายให้เกิดความพร้อมในการลงมือดำเนินงานวิจัย เพื่อทำการสำรวจข้อมูล ศึกษาแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดหัวชื่อเรื่อง
ขั้นตอนที่ 2. การวางแผนออกแบบการวิจัย (Planning Phase)
2.1 ศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.2 เลือกการออกแบบการวิจัย
2.3 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.4 กำหนดกระบวนการในการเก็บรวมรวมข้อมูล
2.5 กำหนดกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.6 กำหนดสถิติที่ใช้ในการวิจัย
2.7 เตรียมแผนการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อรณรงค์สื่อสารความรู้ ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการวิจัย (Research Phase)
3.1การศึกษาชุมชน ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนทั้งไทย-พม่าควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ชุมชน ด้วยการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
3.2การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ด้วยการจัดทำโฟกัสกลุ่ม
3.3จัดตั้งคณะทำงานยกร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.4 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.5วิเคราะห์ความต้องการของชาวไทย – พม่า
3.6 วิเคราะห์สภาพปัญหา
3.7วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
3.8 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างกลยุทธ์ จับคู่กลยุทธ์การร่วมมือพัฒนาข้ามแดน
3.9 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ของการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.10 ดำเนินการปฎิบัติการจิตวิทยา เพื่อสื่อสารความรู้ประชาคมอาเซียนและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนรูปแบบการร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.11 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ยกร่างรูปแบบรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง
3.12 วิเคราะห์คุณค่าของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง
3.13 ทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
ขั้นตอนที่ 4 เสนอผลงานวิจัย (Present Phase)
4.1 สรุปผลการดำเนินงาน
4.2 เขียนรายงาน
4.3 นำเสนอผลงานวิจัย (แถลงผลงานวิจัย)
4.5 จัดทำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์

มาเลเซีย วันที่ สอง ของสจว110

ป้ายกำกับ:

22
พวกเราถึงมาเลเซีย ก็น่าจะเย็นแล้ว ระหว่างทางบ้านเมืองของมาเลเซียก็เป็นป่าเขาเหมือนของเรา แต่ของมาเลเซียบังคับและควบคุมความเร็วที่ 80-90กิโลเมตรต่อชั่วโมง  นั่งรถไปก็มีอาการเซ็งไป บ้างเล็กน้อย ฝนก็ตกพรำพรำ นึกถึงเมืองระนองจับใจ เห็นเฟรินใบมะขามก็เหมือนพื้นที่ปักษ์ใต้ของเรา  เรามีโอกาสได้แวะเมืองมะละกา สวยงามมาก เพราะสไตร์บ้านเรือนเป็นโปรเตกิส เหมือนระนอง นั้งรถสามล้อชมเมืองก็เพลิดเพลินดี ขากลับก็เดินกลับมาที่เดิม เพราะรถบัสที่ไปรับโดนตำรวจไล่
23
ถึงกัวลาลัมเปอร์ อาหารค่ำพอดี เข้าที่พัก ระหว่างทางก็ชะโงกทัวร์ดูปิโตนัส ตึกแฝดสูงของมาเลเซีย และกลับเข้าที่พัก เหนื่อยมาก ไม่ออกไปไหนชะโงกทัวร์ดูบ้านเมืองของมาเลเซียทางหน้าต่าง
ตื่นเช้ารีบตื่นมารับประทานอาหารเช้า  แล้วต้องรีบไปสถานทูตไทยเพื่อฟังคำบรรยาย ถึงสถานทูตฟังคำบรรยายดีมาก แต่ผู้พูดดูจะมีอารมณ์เล็กน้อยตอนเล่าเรื่องโดนทุบรถเอากระเป๋าสตางค์ เพราะไปแจ้งความแล้วไม่ได้รับการติดตามดูแล พวกเราก็ฟังแล้วก็รู้สึกไม่ค่อยดี จากนั้นพวกเราก็ได้ไปถ่ายรูปอีกครั้งที่ตึกแฝด ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยว (โดยการยัดเยียดของไกด์) เพราะคิดไม่ออกว่าน่าสนใจตรงไหน และวิวสวยอย่างไร หรือถ้าใครไปเที่ยวแล้วต้องถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึกก็ไม่รู้ได้

24 21

    อาหารเที่ยงนำเสนอ หมูย่างเจนกิสข่าน กะทะใหญ่ ก็อร่อยดี แต่สงสัยเป็นร้านเด็กเด็กเยอะมาก  กินอิ่มก็เดินลงมา เจอเรื่องเศร้าอีกเรื่อง อาจาร์ยหน่อยของเราโดนกระชากกระเป๋าตังค์
   ไหนไหนก็ไหน วิจาร์ณอาจาร์ยหน่อยของเราซะเลย รูปหล่อพอประมาณ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเคร่งครัดสมชายชาติทหาร บางครั้งจะรู้สึกอักเสบอยู่บ้าง แต่ตะกอนใจใสสะอาด รุ่งเช้าก็มาทำหน้าที่ต่อไปด้วยสติปัญญาและไหวพริบ พร้อมสมาธิที่มีตลอดเวลาที่อาจาร์ยหน่อยเดินเข้าในห้องนักศึกษาประมาณว่า อาจาร์ยผู้คุ้มกฎนักศึกษา แต่ดูสายตาไม่มีแววกังวล สั่งตามคำสั่งทุกคนต้องปฏิบัติตาม อยากรู้จังเกิดปีอะไร เป็นปีชงของปีนี้หรือเปล่า ถ้ามะโรงละแน่แล้ว
  น้ำไหลไปแล้วไม่ไหลทวน ชีวิตเราไม่มีหวน ไม่กลับทวนเหมือนเก่า ทำนายได้ว่า ไอ้ขโมยมันคงไม่คืนของให้เราแล้ว แต่สิ่งที่ได้กลับมาเต็มเหนี่ยวคือประสพการณ์ต่างแดนที่หาไม่ได้อีกแล้ว และอย่างไรก็ตามพวกเรานักศึกษาสจว 110 ยังเอาใจช่วยอาจาร์ยเสมอ และรักอาจาร์ยมากขึ้น

คืนนี้ไปนอนที่ยะโฮบารู

มาเลเซีย - สิงค์โปร์ เมืองที่สจว 110 ต้องจดจำมิรู้ลืม

ป้ายกำกับ:

พวกเราเริ่มออกเดินทาง วันที่ 11 มีนาคม 2555  ขึ้นรถไฟจากหัวลำโพง เดินทางเข้าสู่หาดใหญ่ เพื่อนหลายคนประทับใจมาก ในการนั้งรถไฟ เพราะครั้งนี้ได้ตู้นอน แบบตู้รัฐมนตรีสัญจร  ร้องเพลงตลอดคืน
15
ถึงหาดใหญ่ตอนสายสาย เดินทางไปบำเพ็ญประโยชน์ เลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า โดยการเตรียมสถานที่ของเพื่อนที่เดินทางมาก่อนล่วงหน้า จัดหาของเตรียมให้น้องน้องครบ และได้ตามที่น้องน้องต้องการ ทุกคนดูอิ่มเอมใจ ที่ได้ทำบุญกุศลในครั้งนี้  ด้วยการจัดหาของรองปุ๋ม เพื่อนคนเก่งน้ำใจงามของเรา จากนั้นเดินทางเข้าที่พัก โรงแรม เซ็นทาร่า
13
ถึงเวลาอาหารเย็นพวกเรา จัดโดยเชลล์  เลี้ยงอาหารเย็น ที่ห้องอาหารญี่ปุ่น อาหารอร่อยดนตรีไพเราะ คืนนี้เพื่อนที่ไม่เคยขึ้นเวทีร้องเพลงได้ร้องหมดทุกคน สนุกสนานกันพอประมาณ หลังจากนั้นพักผ่อน เพื่อเตรยมตัวเดินทางไปมาเลเซียในวันพรุ่งนี้
13 มีนาคม 2555 พวกเรารึบตื่นแต่เช้า เพื่อลงมาทานอาหารเช้าก่อนออกเดินทาง ผู้เขียนลงมาสาย เดินไปเจออาร์ท (พันเอกนิวัตฺ  ) นั่งทานกับพี่กำพล ก็ขอเข้าไปร่วมวงด้วย ทักทายอาร์ตหายไปไหน พี่ไม่เจอเลย พี่กำพลตอบแทนไม่สบาย อืมมองหน้าแล้วก็คิดเหมือนกันว่าน้องเขาไม่สบาย แต่อาร์ทยิ้ม แล้วลุกขึ้นบอกจะรีบไปซื้อยาทานแก้ท้องเสีย ประมาณนั้น  เลยบอกอาร์ทพี่ฝากซื้อบ้าง ทานอาหารเรียบร้อย พวกเราขึ้นรถเดินทางไปด่านสะเดา มีผู้รู้จากหาดใหญ่บอกให้ฟังแล้วว่า ต้องใช้เวลานานมาก ก็เลยทำใจ พวกเราถึงด่านสะเดา เช็คเอกสาร โดยกรุ๊ปทัวร์จัดการให้แต่นานมาก จากนั้นเดินทางข้ามฝั่งไทย สู่ด่านนอกมาเลเซีย ทุกคนต้องลากกระเป๋าและสัมภาระไปเข้าคิว เตรียมทำพิธีการ อากาศร้อนมาก แถวยาวเหยียด เรายืนคุยกันไปเล่นกันไปตามประสา จนใกล้ถึงทางเข้า เบิ้ลก็ร้องเสียงดัง ดูพี่อาร์ทด้วย ดูพี่อาร์ทด้วย ทุกคนหันไปเห็น อาร์ทหน้าซีดตัวเหลือง เพื่อนผู้ชายก็วิ่งกรูกันเข้ามา ผู้เขียนสังเกตุเห็นว่าเท้าของอาร์ทไม่สามารถยันพื้นได้ เท้าของอาร์ทงอเหมือนสภาพคนช็อค ไม่น่าเป็นลมธรรมดา เจ้าป๊อกไวมาก กระโดดเข้ามาอุ้มไปวางไว้ที่โต๊ะข้างใน ช่วงนั้นชุลมุนมาก จำได้ว่าเพื่อนที่วิ่งเข้าไปคืออิ่ง เป็นพยาบาลถอดเสื้ออาร์ททันที ตามด้วยปุ๋ม ส่วนผู้เขียนตะโกนบอกพลอยซึ่งอยู่ด้านหน้าไปspeak กับเจ้าหน้าที่ พร้อมตะโกนเรียกหมอมนัสตลอดเวลา จนจำได้ว่าพี่นวยดุเบาเบาว่าไม่ต้องตะโกน ส่วนพลอยก็กระโดดเข้าไปคุยกับเจ้าหน้าที่ โดยไม่ได้ใช้เอกสาร โดยแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าเรามีหมอมา เราจะให้หมอเราตรวจ เพื่อไม่ต้องให้เขาส่งอาร์ทเข้ามาเลเซีย จากนั้นคุณหมอมนัส ติดต่อโรงพยาบาลเอกชนที่หาดใหญ่ให้ ในช่วงที่เหตุการณ์ชุลมุนนั้น ต้องเคารพการตัดสินใจของเพื่อนคนหนึ่งซึ่งเขาไม่ต้องการให้เอ่ยชื่อ แต่ผู้เขียนรู้สึกว่าทราบซึ้งมาก ขณะเขียนยังรู้สึกน้ำตาคลอเบ้า นึกถึงผลบุญและกุศลดีของอาร์ทที่ได้ทำมาในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา  จำได้ว่าผู้เขียนกับอาร์ทกับเพื่อนหลายคนได้ไปทำความสะอาดลานวัด มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งวิ่งมาถามอาร์ทว่า วัดนี้ชื่ออะไร แถมบอกเราด้วยความไร้เดียงสาว่า แม่หนูตาย พ่อหนูก็ตายตอนนี้ย่าหนูเฝ้าพ่ออยู่ ย่าหนูจะโทรศัพท์บอกญาติ  อาร์ทก็เลยบอกให้เด็กผู้หญิงพาไปดู แล้ววิ่งมาบอกว่า พี่คนตายนอนยังไม่ใส่โลงเลย แล้วย่าเขานั้งเฝ้าศพอยู่ เห็นบอกว่าเจ้าอาวาสจะเอาโลงเย็นมาให้ แต่รอตั้งแต่เช้าแล้ว นี่ก็บ่ายแล้ว จากนั้นอาร์ทก็วิ่งเอาข้าวไปให้เด็กหญิงและย่าของเด็ก จากนั้นเราทำความสะอาดต่อจนเสร้จ จึงเดินข้ามฟากไปที่เราจัดงาน  อาร์ทก็ยังกังวลกับเหตุการณ์นั้นอยู่ บอกพี่เรามาบริจาคเงินซื้อโลงให้พ่อของเด็กกันเถอะ อาร์ทยื่นเงินของอาร์ทออกมาผู้เขียนกบอกว่าเอายังงั้นเหรอได้ ผู้เขียนก็ชักเงินเข้ามาสมทบ และบอกว่าเดี๋ยวพี่เรี่ยไรให้ ผู้เขียนก็เรี่ยไรไป ส่วนอาร์ทก็ยังพึมพำเกรงใจเพื่อน ผู้เขียนก็เลยหยุดเรี่ยไร ได้เงินประมาณ 5,000 กว่าบาท ขอบคุณเพื่อนทุกคนที่ร่วมทำบุญในวันนั้น  และได้ส่งให้อาร์ทไปให้เด็กและย่า ผลบุญครั้งนี้อาร์ททำด้วยใจที่มีเมตตาจิตจากใจของอาร์ทเอง ด้วยกุศลจิตที่ดี โดยที่ไม่ได้รู้จักเด็กและย่ามาก่อนเลย  หรือตอนไปบ้านปะไรโหนก อาร์ทมองเห็นสายตาทุกข์ยากของชาวบ้าน ก็เข้ามากระซิบบอกอีกทำให้จุดเริ่มต้นของการบริจาคเริ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
12
คุณปุ๋ม เพื่อนผู้ที่ได้เล่าเรียน หนังสือกับเรามาเพียงระยะเวลาไม่นาน แต่มีใจเมตตาเป็นหลักใหญ่ตัดสินใจ ไม่ไปกลับพวกเรา แต่ติดตามดูแลอาร์ทกลับไปส่งที่โรงพยาบาลนครินทร์ เหตุผลที่ผู้เขียนได้ฟังจากปากของเพื่อนผู้นี้แล้วทำให้ผู้เขียน ดีใจกับอาร์ทด้วยหมดความกังวลในตัวของอาร์ทไปได้ส่วนหนึ่ง และยิ่งรับรู้การดูแลที่พี่ปุ๋มดูแลอาร์ท เหมือนญาติสนิท เหมือนน้องชายคนหนึ่ง ยิ่งทราบซึ้งใจมาก รวมทั้งครอบครัวของปุ๋ม คุณตั๊ก น้องมิลล์ ซึ่งทุกคนพอทราบว่าคุณแม่ต้องนอนหาดใหญ่คนเดียว ทั้งที่ไม่ใช่คนที่นั้นและต้องดูแลคนป่วยด้วย พวกเขากลับส่งแรงใจสนับสนุน ทั้งที่ครอบครัวเป็นห่วงปุ๋มมาก แถมยังบอกด้วยว่า อาร์ทโชคดีที่ได้คุณแม่ช่วย เพราะคุณแม่ปุ๋มช่วยคนรอดทุกคน
ผู้เขียนรับรู้ได้ว่า ความเมตตา ความดี ความจริงใจของ เพื่อนปุ๋มครั้งนี้ ไม่ได้มีแต่ผู้เขียนคนเดียวที่ทราบซึ้ง แต่ผู้เขียนเห็นสายตาของเพื่อนทั้งรุ่น สจว 110 เป็นเหมือนกันหมดทุกคน รวมไปทั้งท่านอาจารย์  และยังเห็นท่าทีของเพื่อนต่างมีท่าทีที่รักกันมากขึ้น ขอบคุณเพื่อนปุ๋มอีกครั้งอย่างจริงใจ
14


ขอบคุณแทนน้องอาร์ทของเรา จากใจจริงจริง สำหรับครอบครัวสุดสงวน  ผู้มีจิตใจดีและงดงามมากมาก

ติดตามความสนุกของมาเลเซียวันที่ สอง...........

อีกนานแค่ไหน เราก็ยังเหมือนเดิม (สจว110)

ป้ายกำกับ:




.

... ไม่ จำเป็น หรอกคำสัญญา (มอง ที่ตา ก็เห็นหัวใจ)
เกิด มาเป็นพวกพันธุ์เดียวกัน (กอดคอกัน ละไปไหน ก็ไป)
สุข หรือทุกข์ ก็ไม่สำคัญ (ข้อ สำคัญ มันอยู่ที่ใจ)
ไม่ มีเงิน เราก็แบ่ง กันจน (เกิด เป็นคน ละไม่จน น้ำใจ)
( * ) วันนี้ วันไหน ดีร้ายเราจะไม่ทิ้งกัน
เมื่อไหน เมื่อนั้นถึงไหน ถึงกันละถึง ใจ
( ** ) เคยเป็นไงเราก็เป็นอย่างนั้น
เรารักกันไม่มีวันเปลี่ยนไป
เพื่อนเอยเพื่อนรัก เพื่อนเอยเพื่อนตาย
อีกนานแค่ไหน เราก็ยังเหมือนเดิม
.... ไม่จำเป็นหรอกคำสัญญา (มอง ที่ตา ก็เห็นหัวใจ)
เกิดมาเป็นพวกพันธุ์เดียวกัน (กอดคอกัน ไปไหน ก็ไป)
โน่น ภูเขา (จะลุย ก็ลุย) นั่น ทะเล (จะไป ก็ไป)
เหนื่อย ไม่กลัว (แต่กลัว ไม่มา) อยาก จะมา (มันก็ต้อง วัดใจ)
(*)
(**,**)
อีกนานแค่ไหน เราก็ยังเหมือนเดิม

STRUCTURAL MODEL OF TEAM COLLABORATION (สังขละบุรี)

ป้ายกำกับ:


collaboration

Dr. Norman Warner Naval Air Systems Command Human Systems Department
Patuxent River, MD และคณะ

รูปแบบของความร่วมมือที่จะเป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพ  การทำความเข้าใจการดำเนินงานกลไกความรู้ความเข้าใจพื้นฐานการทำงานร่วมกันแบบทีม
จะต้องมีการกำหนดขอบเขตซึ่งครอบคลุมทุกองค์ประกอบที่สำคัญและกลไกของการทำงานร่วมกันเป็นทีม จะต้องกำหนดขอบเขตวิธีการที่จะอธิบายรูปแบบดังนี้:
(1) กำหนดขอบเขตปัญหาสำหรับรูปแบบ,
(2) กำหนดขั้นตอนการทำงานร่วมกันต่าง ๆ ที่ทีมงานจะต้องผ่านการแก้ปัญหาร่วมกัน,
(3) กำหนดกระบวนการ ความรู้ความเข้าใจที่ทีมจะต้องรู้ร่วมกัน
(4) กำหนดและอธิบายส่วนประกอบในการประมวลผลข้อมูลที่ทีมงานจะดำเนินการเพื่อให้บรรลุขั้นตอนการทำงานร่วมกัน
(5) กำหนดความรู้ที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุในแต่ละองค์ประกอบการประมวลผลข้อมูลและ
(6) กำหนดกลไกการสื่อสารที่ใช้โดยทีมงานที่จะสร้างความรู้ที่จำเป็นพร้อมกับสนับสนุนการประมวลผลข้อมูล

ส่วนประกอบของรูปแบบ (Model Component)
input ของ model  ปัจจัยแสดงข้อมูลทั่วไปที่จำเป็นต้องมีก่อนที่จะมีทีมทำงานร่วมกัน ข้อมูลนี้รวมถึงรายการต่างๆเช่น:
(1) คำอธิบายของงานปัญหาที่จะแก้ไข,
(2) ความเชี่ยวชาญสมาชิกในทีม,
(3) การจัดโครงสร้างองค์กร,
(4) บทบาทของสมาชิกในทีมและความรับผิดชอบและ
(5) เหตุการณ์ที่คาดการณ์ / ข้อมูลในอนาคต

Collaboration Stages and Cognitive Processes.
ขั้นตอนการทำงานร่วมกันและกระบวนการทางความรู้
รูปแบบนี้มีสี่ขั้นตอน  พึ่งพาซึ่งกันและกันจากความร่วมมือของทีม ขั้นตอนดังนี้:

  1. Team Knowledge Base Construction
  2. Collaborative Team Problem Solving
  3. Team Consensus,
  4. Product Evaluation & RevisionConsensus

Team Knowledge Base Construction
สร้างฐานความรู้เป็นขั้นตอนแรกในการทำงานร่วมกันเป็นทีม  และเริ่มต้นด้วยการระบุข้อมูลโดเมนที่เกี่ยวข้องจำเป็น  การเลือกสมาชิกในทีมที่ต้องการ ตั้งค่าสภาพแวดล้อมการสื่อสารที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหา การพัฒนารูปแบบที่สมาชิกในทีมต้องการ จากปัญหาที่เกิดขึ้น,
และพัฒนาองค์ความรู้

ตอนต่อไป.............

งานวิจัยของสจว 110 (ลองคิดดู)

ป้ายกำกับ:

asean 12

สจว 110 ได้รับมอบหมายให้ทำวิจัย เกี่ยวกับสังขละบุรีโมเดล  ว่าด้วยเรื่อง รูปแบบความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า เพื่อมุ่งสู่ประชาคมอาเซียน ศึกษากรณี :ประยุกต์แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ

การพัฒนาข้ามแดน (CBD: Cross Border Development)  กำลังเป็นปัจจัยเร่งด่วนที่นานาประเทศ เร่งที่จะดำเนินการให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อแชร์ทรัพยากร แชร์ข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการค้าขาย การอยู่ร่วมกันโดยได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

โดยเฉพาะปัจจัยการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งจะเปลี่ยนมหาอำนาจโลกมาทางด้านเอซีย คือ จีนและอินเดีย การรวมตัวของประชาคมอาเซียน และการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ละประเทศจะต้องมีแผนเชิงรุกเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง ขณะเดียวกันแผนตั้งรับอันเกิดจากข้อเสียในการไหลอย่างไม่เป็นระบบก็จำเป็นต้องทำอย่างรีบด่วน  งานวิจัยของสจว 110 ก็เป็นงานวิชาการที่จะต้องตอบโจทย์ของชาติให้ได้เช่นเดียวกัน ในเรื่องความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดน ไทย-พม่า ให้เกิดเป็นแผนเชิงรุกและรับ ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยได้รับความร่วมมือกันและสานประโยชน์ร่วมกันทั้งสองประเทศ

จากทฤษฎี  Frey, B.B., Lohmeier, J.H., Lee, S.W., & Tollefson, N. (2006). Measuring collaboration among grant partners. American Journal of Evaluation, 27, 3, 383-392.)

The five stages are described as:

level
         knowlage
ต่ำ 1. Networking-Aware of organization การสร้างเครือข่าย
-Loosely defined roles
-Little communication
-All decisions are made independently
   การศึกษา
   วัฒนธรรม
   เศรษฐกิจ
   สาธารณสุข
2. Cooperation-Provide information to each other การประสานงาน
-Somewhat defined roles
-Formal communication
-All decisions are made independently
   การศึกษา
   วัฒนธรรม
   เศรษฐกิจ
   สาธารณสุข
   การข้ามแดน
3. Coordination-Share information and resources การร่วมมือ
-Defined roles
-Frequent communication
-Some shared decision making
  การศึกษา
   วัฒนธรรม
   เศรษฐกิจ
   สาธารณสุข
   การข้ามแดน
4. Coalition -Share ideas แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
-Share resources
-Frequent and prioritized communication
-All members have a vote in decision making
  การศึกษา
   วัฒนธรรม
   เศรษฐกิจ
   สาธารณสุข
   การข้ามแดน
สูง
5. Collaboration-Members belong to one system การทำงานร่วมกัน
-Frequent communication is characterized by mutual trust
-Consensus is reached on all decisions
ร่วมทำข้อกำหนดร่วมกัน
ในทุกด้าน บนฐานของการใช้ประโยชน์ร่วมกัน

ถ้าเราลองศึกษาระดับความร่วมมือ  จะเห็นว่าในการพัฒนาความร่วมมือ จะต้องมีการวางแผนเป็นลำดับขั้น ก่อนที่จะได้รับความร่วมมืออย่างจริงจังทั้งสองฝ่าย เริ่มจากการสร้างเครือข่ายธรรมชาติ สร้างองค์ความรู้ที่ต้องการให้เครือข่ายได้รับ เช่นองค์ความรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  จากนั้นจากเครือข่าย จะเป็นรูปแบบของการประสานงาน จะเริ่มมีหน่วยงานที่รับผิดชอบมาเป็นหลักให้ โดยเริ่มมีข้อตกลงระหว่างเครือข่าย พัฒนาเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐในบริเวณชายแดน จนถึง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อกำหนดข้อตกลงระดับชาติ พัฒนาสู่การทำงานร่วมกัน บนฐานการใช้ประโยน์ร่วมกัน  สู่การเปิดประตูชายแดนในที่สุด

ทำตัวเป็นนักคิดสักวัน