รูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ(สังขละบุรีโมเดล)
ขั้นตอนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย | กพ55 | มี.ค55 | เมษ55 |
ขั้นตอนที่ 1. ระยะก่อนทำวิจัย (Pre-Research Phase)เป็นขั้นตอนการเตรียม ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย1.1 การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน 1.2 การสำรวจและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เพื่อค้นหาปัญหา 1.3 การคัดเลือกชุมชน ที่ต้องการสำรวจและกำหนดปัญหาที่ต้องแก้ไข 1.4 การเข้าสู่ชุมชน เริ่มดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ด้วยการเตรียมรณรงค์ปฏิบัติการจิตวิทยาในเบื้องต้น 1.5 การเตรียมคนและเตรียมเครือข่ายให้เกิดความพร้อมในการลงมือดำเนินงานวิจัย เพื่อทำการสำรวจข้อมูล ศึกษาแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดหัวชื่อเรื่อง | |||
ขั้นตอนที่ 2. การวางแผนออกแบบการวิจัย (Planning Phase)2.1 ศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2 เลือกการออกแบบการวิจัย 2.3 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.4 กำหนดกระบวนการในการเก็บรวมรวมข้อมูล 2.5 กำหนดกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล 2.6 กำหนดสถิติที่ใช้ในการวิจัย 2.7 เตรียมแผนการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อรณรงค์สื่อสารความรู้ ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า | |||
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการวิจัย (Research Phase)3.1การศึกษาชุมชน ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนทั้งไทย-พม่าควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ชุมชน ด้วยการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม 3.2การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ด้วยการจัดทำโฟกัสกลุ่ม 3.3จัดตั้งคณะทำงานยกร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) 3.4 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) 3.5วิเคราะห์ความต้องการของชาวไทย – พม่า 3.6 วิเคราะห์สภาพปัญหา 3.7วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก 3.8 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างกลยุทธ์ จับคู่กลยุทธ์การร่วมมือพัฒนาข้ามแดน 3.9 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ของการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) 3.10 ดำเนินการปฎิบัติการจิตวิทยา เพื่อสื่อสารความรู้ประชาคมอาเซียนและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนรูปแบบการร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) 3.11 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ยกร่างรูปแบบรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง 3.12 วิเคราะห์คุณค่าของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง 3.13 ทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) | |||
ขั้นตอนที่ 4 เสนอผลงานวิจัย (Present Phase) 4.1 สรุปผลการดำเนินงาน 4.2 เขียนรายงาน 4.3 นำเสนอผลงานวิจัย (แถลงผลงานวิจัย) 4.5 จัดทำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ |
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
แวะเยี่ยมติชมทักทายกันบ้าง