อำลาอาลัย สจว 110

ป้ายกำกับ:

สังขละ2
วันที่ 26 เมษายน 2555  วันสุดท้ายสำหรับการศึกษาหลักสูตรจิตวิทยาฝ่ายอำนวยการ เพื่อนข้าราชการแต่งชุดขาวสวยงามทุกคน วันนี้เรามีพิธีปัจฉิมนิเทศ และรับประกาศนียบัตร ทุกคนดีใจ ในขณะเดียวกันก็ใจหาย ที่พวกเราต้องจากกันแยกย้ายกันไปสู่หน้าที่หลักของแต่ละท่าน รู้สึกเสียดายบรรยากาศเก่าที่นั่งเรียนหนังสือร่วมกันทุกเช้า
สังขละ5
ท่านผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง พลตรีปานศิริ มีผล กล่าวให้โอวาท พร้อมทั้งชื่นชมในความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจของเพื่อนๆสจว 110 ทุกท่าน ที่มีความรักสามัคคี ฟันฝ่าอุปสรรค ทำให้งานที่ได้รับมอบหมายสำเร็จ นอกจากนั้นได้มอบภาระหน้าที่ให้กับพวกเราในการช่วยกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และช่วยกันปฏิบัติการจิตวิทยาเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับหน่วยงานที่เราเกี่ยวข้อง จากนั้นรับประกาศนียบัตร
4 เดือนที่ร่ำเรียนกันมา ทั้งลูกศิษย์ทั้งอาจาร์ย มีหลายความรู้สึก ความไม่ชอบ ความชอบ ความคิดเห็นต่าง ความหลากหลายในวิธีคิดอันติดกายามาแต่กำเนิด ได้เห็นได้รู้ ในวิธีการต่างๆ เรียกว่ามีทุกรส เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม  แต่แล้วเหนือสิ่งอื่นใด ความรัก ความสามัคคี ก็นำพาสู่ความให้อภัย ซึ่งกันและกัน พลังเมตตา เหนือกว่าสิ่งใดในหล้า สจว 110 จึงประสพในทุกเรื่อง
สังขละ6
วันนี้ขอคาระวะ น้อมความเคารพ สู่อาจาร์ยทุกท่าน ที่ให้การดูแลพวกเราอย่างสม่ำเสมอ อดทน อดกลั้นรับอารมณ์ พวกเราได้อย่างดีเยี่ยม ถึงแม้บางท่านมิได้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยตรง แต่ก็เป็นอาจาร์ยผู้ชี้แนะการแก้ปัญหา การดูแลใจของพวกเราให้มั่นคง เรียกสติของพวกเรา
ผอ
โดยเฉพาะท่านผู้อำนวยการสถาบันจิตวิทยาความมั่นคง ท่านพลตรีปานศิริ มีผล อาจาร์ญใหญ่ของ สจว110 ผู้มีความคิดเฉียบแหลมในทุกเรื่อง สามารถนำพาพวกเราเข้าสู่ความสำเร็จได้อย่างยิ่งใหญ่  ท่านเป็นผู้นำที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และรบได้ชนะด้วยสติปัญญา ความนิ่ง การวางแผน ความเมตตาของท่านทำให้สจว 110 สำเร็จในทุกเรื่อง
สำหรับสถาบันจิตวิทยาแห่งนี้ สำหรับผู้เขียนแล้วมันคือการฝึกความอดทนของจิตใจ การฟันฝ่าอุปสรรคด้วยเป้าหมายร่วมกัน การให้อภัย การทนผู้อื่นกล่าววิพากษ์ด้วยใจสงบ การต่อสู้ที่จะต้องนำเสนอความคิดเห็นให้ผู้อื่นยอมรับ การเสียสละและมุ่งมั่น จนถึงฝึกความนิ่ง ไม่ว่าจะทุกข์หรือสุขอย่างไร  การฝึกคนของสถาบันแห่งนี้ เสมือนการฝึกรบให้ชนะจิตใจตนเองก่อน จึงจะชนะจิตใจผู้อื่น

งานวิจัย สจว 110

ป้ายกำกับ:



รูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน โดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเครื่องมือ(สังขละบุรีโมเดล)
ขั้นตอนการวิจัย
ขั้นตอนการวิจัย กพ55 มี.ค55 เมษ55
ขั้นตอนที่ 1. ระยะก่อนทำวิจัย (Pre-Research Phase)เป็นขั้นตอนการเตรียม  ชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีความพร้อมในการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย
1.1 การสร้างสัมพันธภาพกับชุมชน
1.2 การสำรวจและศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของชุมชน เพื่อค้นหาปัญหา
1.3 การคัดเลือกชุมชน ที่ต้องการสำรวจและกำหนดปัญหาที่ต้องแก้ไข
1.4 การเข้าสู่ชุมชน เริ่มดำเนินการสร้างความสัมพันธ์ด้วยการเตรียมรณรงค์ปฏิบัติการจิตวิทยาในเบื้องต้น
1.5 การเตรียมคนและเตรียมเครือข่ายให้เกิดความพร้อมในการลงมือดำเนินงานวิจัย เพื่อทำการสำรวจข้อมูล ศึกษาแนวทางและวิธีการในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดหัวชื่อเรื่อง
ขั้นตอนที่ 2. การวางแผนออกแบบการวิจัย (Planning Phase)
2.1 ศึกษาเอกสารทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.2 เลือกการออกแบบการวิจัย
2.3 สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
2.4 กำหนดกระบวนการในการเก็บรวมรวมข้อมูล
2.5 กำหนดกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
2.6 กำหนดสถิติที่ใช้ในการวิจัย
2.7 เตรียมแผนการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อรณรงค์สื่อสารความรู้ ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้ที่จำเป็นเพื่อสนับสนุนความร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า
ขั้นตอนที่ 3 ดำเนินการวิจัย (Research Phase)
3.1การศึกษาชุมชน ศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชนทั้งไทย-พม่าควบคู่ไปกับการให้ความรู้แก่ชุมชน ด้วยการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม
3.2การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชน ด้วยการจัดทำโฟกัสกลุ่ม
3.3จัดตั้งคณะทำงานยกร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.4 ประชุมให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการร่างรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.5วิเคราะห์ความต้องการของชาวไทย – พม่า
3.6 วิเคราะห์สภาพปัญหา
3.7วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
3.8 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ สร้างกลยุทธ์ จับคู่กลยุทธ์การร่วมมือพัฒนาข้ามแดน
3.9 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ กำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ของการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.10 ดำเนินการปฎิบัติการจิตวิทยา เพื่อสื่อสารความรู้ประชาคมอาเซียนและแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่คณะผู้วิจัยจะสร้างความรู้เพื่อสนับสนุนรูปแบบการร่วมมือการพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
3.11 สัมมนาเชิงปฏิบัติการ ยกร่างรูปแบบรูปแบบการร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง
3.12 วิเคราะห์คุณค่าของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล) ใน 3 มุมมอง สังคมและว้ฒนธรรม ,เศรษฐกิจ,ความมั่นคง
3.13 ทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบความร่วมมือพัฒนาข้ามแดนไทย-พม่า (สังขละบุรีโมเดล)
ขั้นตอนที่ 4 เสนอผลงานวิจัย (Present Phase)
4.1 สรุปผลการดำเนินงาน
4.2 เขียนรายงาน
4.3 นำเสนอผลงานวิจัย (แถลงผลงานวิจัย)
4.5 จัดทำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์